หน้าเว็บ

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

จังหวัดเชียงใหม่

การเลือกตั้ง
จังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 10 เขต มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 10 คน ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภานั้น มีได้ 1 คน คนปัจจุบัน คือ ชูชัย เลิศพงศ์อดิศร
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ดอกทองกวาว ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่
  • สัญลักษณ์ประจำจังหวัด คือ รูปช้างเผือกในเรือนแก้ว หมายถึงความสำคัญ 2 ประการของจังหวัด ซึ่งช้างเผือก คือ ช้างที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่นำมาทูลเกล้าถวายแด่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) และได้ขึ้นระวางเป็นช้างเผือกเอกในรัชกาล ส่วนเรือนแก้วคือดินแดนที่พุทธศาสนารุ่งเรืองสูงสุด
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ทองกวาว (Butea monosperma)
  • อักษรย่อ: ชม.
เศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) พ.ศ. 2552 มีมูลค่า 127,660 ล้านบาท แบ่งเป็นภาคเกษตร 18,539 ล้านบาท (ร้อยละ 14.5) และนอกภาคเกษตร 109,121 ล้านบาท (ร้อยละ 85.5) ซึ่งสาขาการผลิตนอกภาคเกษตรที่สำคัญ มีบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ 20,603 ล้านบาท (ร้อยละ 16.1) ตามมาด้วยสาขาการศึกษา 15,916 ล้านบาท (ร้อยละ 12.5) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 2.3
มีรายได้ประชากรต่อหัวเฉลี่ย 79,971 บาท/คน/ปี อยู่ที่อันดับ 3 ของภาคเหนือรองจากจังหวัดลำพูน และจังหวัดกำแพงเพชร สำหรับรายได้ประชากรในเขตชนบท เฉลี่ยนั้น อยู่ที่ 59,092.45 บาท/คน/ปี อำเภอที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำที่สุด คือ อำเภออมก๋อย 29,198.01 บาท/คน/ปี และอำเภอที่มีรายได้สูงสุด คือ อำเภอฝาง 110,592.77 บาท/คน/ปี[7]

  การเกษตร

จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่การเกษตร 1,835,425 ไร่ (ร้อยละ 12.82 ของพื้นที่จังหวัด) ส่วนใหญ่ปลูกพืชสวน 515,385 ไร่ ปลูกข้าวรองลงมา 515,385 ไร่ พื้นที่การเกษตรนี้อยู่ในเขตชลประทาน 642,979 ไร่ (ร้อยละ 35 ของพื้นที่การเกษตร) มีครัวเรือนการเกษตร 1,192,446 ครัวเรือน
ผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญ พ.ศ. 2553-2554 สูงสุด 3 อันดับ คือ 1) ข้าว ผลผลิตเฉลี่ย 387,744 ตัน, 2) ลำไย ผลผลิตเฉลี่ย 195,195 ตัน และ 3) กระเทียม ผลผลิตเฉลี่ย 97,395 ตัน[7]

  การอุตสาหกรรม

จังหวัดเชียงใหม่มีโรงงาน 1,395 แห่ง เงินลงทุน 32,180 ล้านบาท แรงงาน 43,306 คน อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร เกษตร ขนส่ง อโลหะ และเครื่องดื่ม ซึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พ.ศ. 2554 มี 34 โครงการ ประเทศที่มีการลงทุนในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สิงคโปร์ มาเลเซีย เดนมาร์ก ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[7]

การท่องเที่ยว

ในการสำรวจ World Best Award-Top 10 Cities จากผู้อ่าน Travel and Leisure นิตยสารท่องเที่ยวของสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2553 ผลปรากฏว่า จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับ 2 ของโลก รองแต่เพียงกรุงเทพมหานครเท่านั้น ซึ่งใน พ.ศ. 2552 จังหวัดเชียงใหม่ถูกจัดเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับ 5 ของโลก โดยพิจารณาจากสถานที่ ทัศนียภาพ ความสวยงามและร่มรื่น ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี อาหารการกิน แหล่งช็อปปิ้ง ความเป็นมิตรของผู้คน ความคุ้มค่า ของเงิน เป็นต้น[9]
ใน พ.ศ. 2553 จังหวัดมีจำนวนนักท่องเที่ยว 5,040,917 คน อยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศรองจากจังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดชลบุรี[7] เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 1,695,288 คน (ร้อยละ 33.63) สร้างรายได้รวม 39,507.03 ล้านบาท[7]

  แรงงาน

ใน พ.ศ. 2553 จังหวัดเชียงใหม่มีกำลังแรงงาน 985,349 คน (หรือร้อยละ 58.5 ของประชากร) มีอัตราว่างงานเฉลี่ย 1.2% อัตราจ้างแรงงาน 180 บาท/วัน นอกจากนี้ มีแรงงานต่างด้าว 67,663 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวพม่าถึง 67,453 คน แรงงานต่างด้าวประกอบอาชีพรับจ้างในกิจการก่อสร้างมากที่สุด 24,625 คน งานเกษตรและปศุสัตว์รองลงมา 22,655 คน[7]

  ประชากร

จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรทั้งสิ้น 1,708,564 คน แยกเป็นชาย 838,394 คน หญิง 870,470 คน[10]ความหนาแน่นเฉลี่ย 84 คน/ตร.กม. (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคม 2555) ประชากรชนกลุ่มน้อยในจังหวัดมีจำนวน 64,505 คน กระจายตามอำเภอต่าง ๆ ใน 16 อำเภอ อำเภอที่มีประชากรชนกลุ่มน้อยมากที่สุด ได้แก่ อำเภอฝาง รองลงมา ได้แก่ อำเภอเชียงดาว อำเภอแม่อาย และอำเภอเวียงแหง[7]

  ศาสนา

ประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 91.80 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5.60 ศาสนาอิสลามร้อยละ 1.17 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและสิกข์ร้อยละ 0.02 และอื่น ๆ ร้อยละ 1.14[7]
สำหรับรายชื่อวัดดูที่ รายชื่อวัดในจังหวัดเชียงใหม่

  การศึกษา

จังหวัดเชียงใหม่รับรองระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา มีจำนวนสถานศึกษาทั้งสิ้น 1,146 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน 893 แห่ง ตามมาด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน 140 แห่ง และมีสถาบันอุดมศึกษา 12 แห่ง มีครู/อาจารย์ 21,155 คน และนักเรียน นิสิต นักศึกษา 440,706 คน ซึ่งอัตราส่วนครู/อาจารย์ ต่อนักเรียน นิสิต นักศึกษาเป็น 1:21 นักเรียนในสังกัดส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา 138,288 คน รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 75,804 คน[7]
สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ มีสถาบันอุดมศึกษาหลัก ได้แก่ สังกัด รัฐบาล
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้
สังกัด เอกชน
  • มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยพายัพ
  • มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
และมีวิทยาเขตของสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัด ได้แก่
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย วิทยาเขตจอมทอง
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
โรงเรียน
สำหรับรายชื่อโรงเรียนดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่
โรงเรียนรัฐบาล ได้แก่
  • โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย (โรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัด)
  • โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ
  • โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย
โรงเรียนเอกชน ได้แก่
  • โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
  • โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

บริการสาธารณสุข

จังหวัดเชียงใหม่มีโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน 48 แห่ง 6,045 เตียง[7] มีบุคลากรแพทย์ 1,065 คน (สัดส่วนต่อประชากรเป็น 1: 1,540) พยาบาล 4,812 คน (1: 341) และทันตแพทย์ 359 คน (1: 13,445)
อัตราการเกิด 10.98 ต่อ 1,000 คน อัตราการตาย 8.16 ต่อ 1,000 คน และอัตราการเพิ่มตามธรรมชาติ 2.52 ต่อ 1,000 คน[7]
โรงพยาบาลของรัฐที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงใหม่ อาทิ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลสวนปรุง

  ชาวเชียงใหม่ที่มีชื่อเสียง

  เจ้านายฝ่ายเหนือ

  • เจ้ากอแก้ว ประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ - นักกิจกรรมสังคมชั้นสูง
  • เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ - ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์พื้นเมืองล้านนา) ประจำปี พ.ศ. 2541
  • เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ - ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
  • เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ - เจ้านายฝ่ายเหนือผู้สืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่

การเมือง

  • พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร - นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของไทย
  • ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร - นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของไทย
  • ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ - นักการเมือง อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
  • ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ - นักการเมือง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ - อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • ดร.สุบิน ปิ่นขยัน - นักการเมือง อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง
  • อำนวย ยศสุข - นักการเมือง อดตีรัฐมนตรีหลายกระทรวง

[แก้] ข้าราชการ

  • พลตำรวจตรีพีรพันธุ์ เปรมภูติ - อดีตเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
  • พลอากาศเอกหะริน หงสกุล - อดีตข้าราชการหลายตำแหน่ง

[แก้] สื่อมวลชน

  • ชมพูนุช คงมล - ผู้ประกาศข่าวไอทีวี และช่อง 7 สี
  • นารากร ติยายน - ผู้ประกาศข่าว และพิธีกรข่าวไอทีวี และช่อง 7 สี
  • พิมลวรรณ หุ่นทองคำ - พิธีกรรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง ทางไทยทีวีสีช่อง 3 และบรรณาธิการบริหาร นิตยสารมาเธอร์แอนด์เบบี
  • พิสิทธิ์ กีรติการกุล - ผู้ประกาศข่าว และพิธีกร ช่อง 7 สี
  • สุภาพร ทองไพฑูรย์ - ผู้ประกาศข่าว ศูนย์ข่าวจังหวัดเชียงใหม่ ช่อง 7 สี

ศิลปิน

  • เจริญ มาลาโรจน์ (มาลา คำจันทร์) - นักเขียนรางวัลซีไรต์
  • ณิชา ตันติเฉลิมสิน (นามปากกา: ณารา) - ผู้เขียนธาราหิมาลัย
  • ลักขณา ปันวิชัย (นามปากกา: คำ ผกา) - นักเขียน นักแปล และคอลัมนิสต์นิตยสาร
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มณี พยอมยงค์ - ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2549
ประเพณีและวัฒนธรรม

การปล่อยโคมลอย ในเทศกาลยี่เป็ง
เมืองเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน คนเชียงใหม่ได้สั่งสมวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่มีความผูกพันกับพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่
  • ปีใหม่เมือง (สงกรานต์) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี เป็นประเพณีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของชาวเชียงใหม่ แบ่งเป็นวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกรานต์ มีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ และพิธีสรงน้ำพระ วันที่ 14 เข้าวัดก่อเจดีย์ทราย และวันที่ 15 เมษายน ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมีการเล่นสาดน้ำตลอดช่วงเทศกาล
  • ประเพณียี่เป็ง จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี ราวเดือนพฤศจิกายน มีการตกแต่งบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ด้วยโคมชนิดต่างๆ มีการปล่อยโคมลอย มีการลอยกระทง ประกวดกระทงและนางนพมาศ
  • ประเพณีเข้าอินทขิล จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่วัดเจดีย์หลวง เป็นการบูชาเสาหลักเมืองโดยการนำดอกไม้ธูปเทียนมาใส่ขันดอก
  • เทศกาลร่มบ่อสร้าง จัดขึ้นในเดือนมกราคมของทุกปี ที่ศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง มีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน
  • มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นในอาทิตย์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณสวนสาธารณะบวกหาด มีขบวนรถบุปผาชาติ และนางงามบุปผาชาติ
  • งานไม้แกะสลักบ้านถวาย จัดขึ้นในเดือนมกราคม ที่หมู่บ้านถวาย อำเภอหางดง มีการจำหน่ายและสาธิตการแกะสลักไม้ และหัตถกรรมพื้นบ้าน
  • ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ จัดขึ้นในเดือนเมษายน ในวันที่ 15 เป็นต้นไป ของทุกปี ที่บริเวณตัวเมืองจอมทอง มีขบวนรถจากชุมชน ห้างร้าน กลุ่มต่างๆ กว่า 40 ขบวน แห่ไปตามเมืองจอมทอง อำเภอจอมทอง จนถึง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานกว่า 200 ปี ตามตำนานเกิดขึ้นที่อำเภอเภอจอมทอง ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและแห่งเดียวในโลก ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ กลายเป็นต้นแบบของการแห่ไม้ค้ำสะหลีของชาวล้านนา จนได้รับความนิยมไปทั่วภาคเหนือ และเป็นประเพณีที่เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง และได้รับความนิยมอย่างมาก

  การคมนาคม


รถสองแถวที่รู้จักกันในชื่อ รถแดง
จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองหลักของภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการคมนาคม จึงมีเส้นทางคมนาคมหลักทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางอากาศ มีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ทำให้การเดินทางติดต่อภายในจังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความสะดวก

ทางรถยนต์

การเดินทางจากกรุงเทพฯ มายังจังหวัดเชียงใหม่ใช้ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านจังหวัดอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ แล้วใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์) ผ่านจังหวัดลำปาง แยกซ้าย ผ่านจังหวัดลำพูน จนถึงจังหวัดเชียงใหม่

  การเดินทางในตัวจังหวัด

การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ของจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างชนบท หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัดต่าง ๆ มีความสะดวก เพราะมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมติดต่อกัน การเดินทางโดยรถยนต์ระหว่างจังหวัดกับอำเภอ ระยะทางที่ไกลที่สุดคือ อำเภออมก๋อย ระยะทาง 179 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 4 ชั่วโมง ระยะทางที่ใกล้ที่สุดคือ อำเภอสันทราย 11 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 23 นาที โดยระยะทางจากตัวจังหวัด (อำเภอเมืองเชียงใหม่) ไปยังอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ เรียงจากใกล้ไปไกล[11] ดังนี้
  • อำเภอแม่ริม 15 กิโลเมตร
  • อำเภอสารภี 12 กิโลเมตร
  • อำเภอสันทราย 11 กิโลเมตร
  • อำเภอสันกำแพง 13 กิโลเมตร
  • อำเภอหางดง 15 กิโลเมตร
  • อำเภอดอยสะเก็ด 18 กิโลเมตร
  • อำเภอสันป่าตอง 22 กิโลเมตร
  • อำเภอแม่ออน 29 กิโลเมตร
  • อำเภอดอยหล่อ 34 กิโลเมตร
  • อำเภอแม่วาง 35 กิโลเมตร
  • อำเภอแม่แตง 40 กิโลเมตร
  • อำเภอสะเมิง 54 กิโลเมตร
  • อำเภอจอมทอง 58 กิโลเมตร
  • อำเภอเชียงดาว 68 กิโลเมตร
  • อำเภอฮอด 88 กิโลเมตร
  • อำเภอพร้าว 103 กิโลเมตร
  • อำเภอดอยเต่า 121 กิโลเมตร
  • อำเภอไชยปราการ 131 กิโลเมตร
  • อำเภอเวียงแหง 150 กิโลเมตร
  • อำเภอฝาง 154 กิโลเมตร
  • อำเภอแม่แจ่ม 156 กิโลเมตร
  • อำเภอกัลยาณิวัฒนา 157 กิโลเมตร
  • อำเภอแม่อาย 174 กิโลเมตร
  • อำเภออมก๋อย 179 กิโลเมตร
  • อำเภอนันทบุรี เฉลิมพระเกียรติฯ 280 กิโลเมตร
สำหรับการเดินทางในตัวจังหวัด จะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมี รถแดง ตุ๊กตุ๊ก รถเมล์ และประมาณ พ.ศ. 2550 เริ่มมีแท็กซี่มิเตอร์ในบริการในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรถมีสีเหลือง-น้ำเงิน เป็นแท็กซี่สหกรณ์ ส่วนสีแดง-เหลืองเป็นแท็กซี่ส่วนบุคคล มีสถานีขนส่งภายในตัวจังหวัดเชื่อมต่ออำเภอต่าง ๆ คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 1 (สถานีขนส่งช้างเผือก) และสถานีขนส่งระหว่างจังหวัดคือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2 และ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 3 (สถานีขนส่งอาเขต)

สถานีรถไฟเชียงใหม่

  ทางรถไฟ

การคมนาคมทางรถไฟ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยผ่านจังหวัดอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ลำปาง และลำพูน เปิดการเดินรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ และรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ รวมวันละ 14 ขบวน (ไป 7 กลับ 7) และนครสวรรค์-เชียงใหม่ วันละ 2 ขบวน (ไป-กลับ) มีสถานีรถไฟหลักและเป็นสถานีปลายทางในจังหวัดเชียงใหม่ คือสถานีรถไฟเชียงใหม่ ขบวนรถที่เข้า-ออกเชียงใหม่ มีดังนี้
  • รถด่วนพิเศษ
    • ข.1/2 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
    • ข.9/10 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
    • ข.11/12 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
    • ข.13/14 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
  • รถด่วน
    • ข.51/52 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
  • รถเร็ว
    • ข.109/102 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
  • รถท้องถิ่น
    • ข.407/408 นครสวรรค์-เชียงใหม่-นครสวรรค์

  ทางอากาศ


ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
การคมนาคมทางอากาศ จังหวัดเชียงใหม่มีท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น รองจากสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ มีเส้นทางบินไป - กลับวันละหลายเที่ยวบิน ทั้งสายการบินภายในประเทศ และสายการบินระหว่างประเทศ โดยสายการบินระหว่างประเทศ มีสายการบินจากเชียงใหม่ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียมีเที่ยวบินโดยตรงจากเชียงใหม่ไปยังหลายประเทศ เช่น ประเทศจีน เกาหลี ลาว พม่า ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เป็นต้น

ทางรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ

สำหรับระบบรถเมล์ด่วนพิเศษนครเชียงใหม่ (Chiangmai Transit System หรือ CTS) จะเปิดให้บริการในอนาคต แต่ยังติดปัญหาเรื่องงบประมาณและการพิจารณาอนุมัติของสำนักงานขนส่งจังหวัด (สนข.)

การสาธารณูปโภค

  • ไฟฟ้า การไฟฟ้าของจังหวัดอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขตเหนือ รับซื้อกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ แหล่งผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีสถานีควบคุมการจ่ายไฟฟ้า 5 สถานี จำนวนการไฟฟ้า 32 แห่ง ในปี 2553 จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น 567,201 ราย ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในจังหวัด 2,264.45 ล้านหน่วย สามารถให้บริการไฟฟ้าได้ครอบคลุม 25 อำเภอ สำหรับหมู่บ้าน ที่ไม่สามารถขยายเขตระบบจำหน่ายได้เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ เป็นหมู่บ้าน ที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แหล่งต้นน้ำลำธาร ลุ่มน้ำ เขตป่าอนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งหลายแห่งมีการติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
  • ประปา การประปาในจังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ การประปาเชียงใหม่ การประปาฮอด การประปาสันกำแพง การประปาฝาง การประปาแม่ริม การประปาแม่แตง มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 54.83 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณการใช้น้ำ 25.33 ล้านลูกบาศก์เมตร มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 112,685 ราย โดยในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีผู้ใช้น้ำประปามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 69.04 ของจำนวนผู้ใช้ประปาทั้งหมดของจังหวัด
  • โทรศัพท์ จังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนเลขหมายโทรศัพท์ 305,434 เลขหมาย เป็นเลขหมายที่มีผู้เช่า 186,294 เลขหมาย มีชุมสายโทรศัพท์ 247 แห่ง
  • ไปรษณีย์ มีสำนักงานไปรษณีย์ จำนวน 37 แห่ง มีจำนวนผู้ใช้บริการ 2,467,286 ราย[12]

กีฬา

จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติหลายครั้ง ได้แก่ เอเชียนเกมส์ 1998 และซีเกมส์ 1995 ฟุตบอลเอเชียเยาวชน 1998 และกีฬาในประเทศ ได้แก่ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ 3 ครั้ง การแข่งขันยกน้ำหนักยุวชนชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดในปี พ.ศ. 2552[13] และล่าสุดคือ กีฬายุวชนอาเซียน
เชียงใหม่มีสโมสรฟุตบอลอาชีพ คือ สโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ ในเดือนตุลาคม 2549 ได้มีแถลงการเปิดบริษัทที่จะสนับสนุนฟุตบอลอาชีพ ในชื่อ "บริษัท พัฒนาธุกิจกีฬา เชียงใหม่" [14]

  สถานที่ท่องเที่ยว

 สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ


หมีแพนด้า ในสวนสัตว์เชียงใหม่
  • ดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง
  • ดอยสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่
  • ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง
  • ดอยหลวงเชียงดาว อำเภอเชียงดาว
  • ดอยฟ้าห่มปก อำเภอแม่อาย
  • สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม
  • ออบหลวง อำเภอฮอด
  • ปางช้างแม่แตง อำเภอแม่แตง
  • น้ำพุร้อนสันกำแพง อำเภอสันกำแพง
  • น้ำพุร้อนฝาง อำเภอฝาง
  • ทะเลสาบดอยเต่า อำเภอดอยเต่า
  • ดอยม่อนจอง อำเภอนันทบุรี เฉลิมพระเกียรติฯ
  • ม่อนแจ่ม อำเภอแม่ริม

 สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป

  • บ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง
  • บ้านถวาย อำเภอหางดง
  • วัวลาย อำเภอเมืองเชียงใหม่
  • ถนนคนเดิน (ถนนราชดำเนิน ประตูท่าแพ - วัดพระสิงห์) อำเภอเมืองเชียงใหม่
  • ถนนคนเดิน (ถนนวัวลาย ประตูเชียงใหม่ - ประตูหายยา) อำเภอเมืองเชียงใหม่
  • เชียงใหม่ไนท์บาซาร์ อำเภอเมืองเชียงใหม่
  • อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อำเภอเมืองเชียงใหม่
  • เวียงกุมกาม อำเภอสารภี
  • พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ อำเภอเมืองเชียงใหม่
  • สวนสัตว์เชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่
  • เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี อำเภอเมืองเชียงใหม่
  • เวียงท่ากาน อำเภอสันป่าตอง